e-book คู่มือแนะนำการใช้งานระบบสืบค้นห้องสมุด
ช่องทางต่างๆ ในการติดต่อสอบถามบรรณารักษ์และบุคลากร การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายประเภท เช่น หนังสือ นวนิยาย วารสาร เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีบริการยืนคืนทรัพยากรสารสนเทศประเภท E-Book อีกด้วย
ห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2447 ในสมัยที่นายพันตรีพระสุรเดชรณชิต(พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยมีครูใหญ่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเป็นผู้อำนวยการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานห้องสมุดทั้งปวงโดยใช้ชื่อว่า "ห้องสมุดโรงเรียนนนายร้อยทหารบก" ตั้งอยู่ในห้องประชุมกองบังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการแยกหมวดหมู่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2458 เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกและผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมขณะนั้นได้ดำริให้หัวหน้าครูโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม(ถนนราชดำเนินนอก) มีการจัดหมวดหมู่เป็น 6 หมวดวิชาดังนี้
1. หมวดวิชาพงศาวดาร 270 เล่ม 2. หมวดวิชาสุภาษิต 202 เล่ม 3. หมวดวิชาอ่านเล่น 376 เล่ม 4. หมวดหนังสือพิมพ์บำรุงความรู้ 556 หน้า 5. หมวดหนังสือต่างประเทศ 197 เล่ม 6. หมวดหนังสือพิมพ์ รายเดือน รายปักษ์ รายสัตวารได้มีพิธีเปิดห้องสมุดนี้เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2458 เรียกชื่อว่าห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ.2568 มีการรวมโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมและมัธยมเข้าด้วยกัน จึงได้มีการรวบรวมห้องสมดทั้งสองแห่งเข้าด้วยกันเรียกว่า "ห้องสมุดกรมยุทธศึกษาทหารบก" และย้ายมาอยู่ชั้นล่างของห้องประชุมกรมยุทธศึกษาทหารบกมีคณะกกรรมการจัดการห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ประจำสำหรับให้บริการ โดยมีหัวหน้าแผนกอนุศาสนาจารย์เป็นบรรณารักษ์และมีนายทหารสัญญาบัตรอีก 1 นายเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ เมื่อมีการปรับหลักสูตรเป็น 5 ปีตามแนวทางของโรงเรียนนายร้อยทหารเวสปอยต์และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2491 นั้น ห้องสมุดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าโดยมีรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทำหน้าที่ผู้อำนวยการห้องสมุด ต่อมาได้มีการดำเนินการจัดทำหมวดหมู่หนังสือสากลนิยมตามแบบดิวอี้ (Dewey's Descimal Classification หรือ D.D.C) จนถึง พ.ศ.2531 ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แผนกหอสมุดและพิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลังจากที่โรงเรียนนายร้อยพะจุลจอมเกล้าย้ายสู่ที่ตั้งแห่งใหม่ที่จังหวัดนครนายก เมื่อ พ.ศ.2529 เป็นต้นมาและยกฐานะห้องสมุดให้เป็นแผนกในคราวนี้ด้วย นอกจากนี้ยังเปลี่ยนระบบการจัดห้องสมุดใหม่เป็นระบบรัฐสภาอเมริกันหรือระบบ L.C. (Library of Congress) จนถึงปัจจุบันนี้
หัวหน้าแผนก
วางแผน อำนวยการ กำกับดูแล ประสานงาน และบริหารงานห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ให้เป็นไปตามภารกิจและนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
หัวหน้าพิพิธภัณฑ์
ควบคุม กำกับดูแลงานพิพิธภัณฑ์ทั้งปวง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจของพิพิธภัณฑ์และประศาสตร๋ทหาร ต้อนรับผู้เข้าชมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตลอดจนบรรยายแนะนำและให้รายละเอียดต่างๆประจำแผนก รร.จปร./ฝ่ายธุรการและวารสาร
ช่วยเหลือให้คำปรึกษาและเสนอแนะผู้บังคับบัญชาในสายงานธุรการและงานบรรณารักษ์ทั้งปวง
ประจำแผนก รร.จปร./ฝ่ายเทคนิคและบริการ
เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ดำเนินกรรมวิธีเกี่ยวกับงานบรรณารักษ์ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศทุกประเภทเพื่อสนับสนุนภารกิจการศึกค้นคว้าของผู้ใช้บริการ แสวงหาความร่วมมือระหว่างเครือข่ายห้องสมุดทหารและห้องสมุดอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประจำแผนก รร.จปร./ฝ่ายพิพิธภัณฑ์
เป็นผู้ช่วยภัณฑารักษ์ในภารกิจของพิพิธภัณฑ์ กำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชม
แผนกหอสมุดและพิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26001
โทร. 02-2412691-4 ต่อ 62391, 62386 (ในเวลาราชการ)
สังกัด | หน่วยงาน | ลิงก์ |
---|---|---|
กองทัพบก | ห้องสมุดกองบัญชาการกองทัพบก | ไปที่ลิงก์ |
ห้องสมุดกรมยุทธศึกษาทหารบก | ไปที่ลิงก์ | |
กองทัพเรือ | ห้องสมุดโรงเรียนนายเรือ | ไปที่ลิงก์ |
กองทัพอากาศ | ห้องสมุดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช | ไปที่ลิงก์ |
กองบัญชาการกองทัพไทย | ห้องสมุดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | ไปที่ลิงก์ |
ห้องสมุดโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | ไปที่ลิงก์ |